คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ประเพณียี่เป็ง ประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนาที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน
โดยในปัจจุบันประเพณียี่เป็งยังคงเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดและจัดขึ้นในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี
ประวัติวันเข้าพรรษานั้นเริ่มต้นจากเมื่อสมัยพุทธกาลโดยพระพุทธเจ้าเป็นผู้กำหนดขึ้นเนื่องจากมีผู้มาเรียกเรียนว่า
พระภิกษุสงฆ์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่หยุดหย่อนเลยแม้กระทั่งหน้าฝนที่ฝนตกหนัก
และน้ำหลาก การเดินทางลำบาก
กระทั้งบางครั้งพระสงฆ์เหล่านั้นยังเดินไปเหยียบย่ำพืชผัก หรือผลผลิตที่กำลังเติบโต
และกำลังผลิดอกออกผล ได้รับความเสียหาย
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้ฤดูฝนเป็นฤดูสำหรับการหยุดพักการเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันแรม
1ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา
จนถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11และ
เป็นวันออกพรรษา เพื่อพระสงฆ์จะได้หยุดพักจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
และได้ปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม
และสั่งสอนลูกศิษย์หรือพระใหม่ที่เพิ่งบวชได้ร่ำเรียนธรรมะอย่างเต็มที่
โดยให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ไม่ไปจำวัดที่อื่นตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษานั้นแม้แต่คืนเดียว
หากพระสงฆ์ไม่สามารถกลับมาทันก่อนรุ่งสางถือว่าภิกษุนั้นขาดพรรษา
แต่มีข้อยกเว้นหากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถกลับมาได้ทัน แต่ต้องกลับมาภายใน 7วัน นั้นคือ ไปรักษาภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
ไปห้ามไม่ให้ภิกษุสงฆ์นั้นสึกออกจาการเป็นพระสงฆ์ ไปเพื่อธุระของคณะสงฆ์
“หนึ่งเดียวในประเพณีประเทศไทย น้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมถ่ายทอดพุทธประวัติจากความร่วมมือของชาวทุ่งยั้งในงาน ประเพณีอัฐมีบูชา
พิธีกรรมในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง
พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวพุทธประวัติ พระธรรมคำสอน
เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติสืบไป” เรื่องราวที่เล่าขานประเพณีไทย
กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ถูกถ่ายทอดผ่านพิธีกรรมที่ชาวทุ่งยั้งได้ร่วมกันปฏิบัติ
เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ ปริศนาธรรม
หลักคำสอน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า
องค์พระเมรุตกแต่งประดับลวดลายวิจิตร จากช่างฝีมือท้องถิ่น ภายในประดิษฐานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในอิริยาบถไสยาสน์ เข้าสู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)
มีการตั้งพระบรมศพฯ
ประเพณีสรงน้ำ พระบรมธาตุหริภุญชัย
จังหวัดลำพูน “พระบรมธาตุหริภุญชัย
หนึ่งในแปดแห่งจอมเจดีย์ ปูชนียสถานสำคัญ เมื่อครบรอบปีเวียนมาถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๘ เหนือ วันวิสาขบูชา ชาวเหนือเรียกขานตรงกันว่า วันแปดเป็ง
พุทธศาสนิกชนใกล้ ไกล หลั่งไหลร่วมงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย
สักการบูชาพระบรมธาตุฯ สืบไป” พระบรมธาตุหริภุญชัย
เป็นเจดีย์องค์เก่าแก่องค์หนึ่งในล้านนา ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอาทิตยราช
กษัตรย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐
นับจนถึงปัจจุบันก็มีอายุกว่า ๑๐๐๐ ปี
ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ
เมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่ “ย้อนอดีตเก่าแก่ เมืองแพร่เมืองงาม
เล่าขานตำนานช่อแพร่ช่อแฮแหล่งประดิษฐานพระเกศาธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า
เมื่อถึงวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่
แห่ตุงหลวง ถวายแด่องค์พระธาตุสืบมา”
ตำนานเก่าแก่แห่งเมืองมนต์ขลังเล่าว่า อดีตกาล
พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพตและได้มอบพระเกศาธาตุให้ขุนลั๊วอ้ายก้อมไปบรรจุในผอบแก้วแล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออกของดอยที่ประทับ
ซึ่งผ้าแพรที่ขุนลั๊วอ้ายก้อมนำมารองรับพระเกศาธาตุนั้นเรียกว่า “ผ้าแฮ” นิยมนำผ้าแฮ
หรือผ้าแพรมาประดิษฐ์เป็นช่อ หรือธง
ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประเพณีไืทย – “พระราชพิธีจองเปรียง
แห่งเมืองสุโขทัย เผาเทียน
เล่นไฟ พลุ ตะไล
ไฟพะเนียง โคมลอยรูปดอกกระมุท
ที่สุดของโคม แห่นางนพมาศ บูชาพระพุทธมหานัมมทาน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน
๑๒ ประชาราษฎร์กล่าวขาน ลอยกระทง
เผาเทียน เล่นไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น