ประวัติความเป็นมาของผีตาโขน ประเพณีผีตาโขน
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย ของจังหวัดเลย
ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางภาคอีสานของไทย ไม่มีข้อมูลชัดแจ้งว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด
แต่มีข้อสันนิษฐว่าน่าจะมีตั้งแต่มี บุญหลวง คือบุญพระเวชสันดรและบุญบั้งไฟรวมกัน
ซึ่งเป็นเวลานาน หลายร้อยปีมาแล้ว
ประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ
โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน
แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐาน
เมื่อให้นึกถึงประเพณีที่มีสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง
มีมาช้านานและเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศคงเป็นประเพณีอื่นไปไม่ได้นอกจากประเพณีแห่นางแมว
ที่นิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการหรือฝนแล้ง
เพื่ออ้อนวอนขอให้ฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นแก่แผ่นดินและพื้นที่ทำสวนทำไร่ของทุกคน
ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมว เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม
การทำเลือกสวนนาไร่จำเป็นต้องอาศัยน้ำจำนวนมาก ดังนั้นหากวันหนึ่งฝนที่เคยตกต้องตามฤดูกาลไม่ตกเช่นเคยย่อมสร้างความเดือนร้อนให้กับชาวนาชาวไร่ทั่วไป
เพราะฉะนั้นเพื่อให้ฝนตกลงมาจะได้มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตรกรรมจึงต้องทำพิธี “แห่นางแมว” ขึ้น
สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมวนั้น
คนไทยมีความเชื่อว่าฝนตกลงมาเพราะเทวดา เมื่อฝนไม่ตกจึงต้องทำพิธีขอฝนกับเทวดา
แต่บางความเชื่อกล่าวว่าเมื่อแผ่นดินแห้งแล้ง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
มีควันและละอองเขม่าควันจะต้องขอน้ำจากเทวดามาช่วยล้างเพราะน้ำฝนเป็นน้ำของเทวดา
เนื่องจาก เทโว แปลว่า ฝน นั่นเอง ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับแมวนั้น คนไทยเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับ
ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนำมาทำพิธีแล้วจะช่วยเรียกฝนให้ตกลงมาได้
หรือถ้าเป็นความเชื่อของชาวอีสานจะมีความเชื่อว่าเมื่อฝนไม่ตกให้ใช้สัตว์ที่มีสีเดียวกับเมฆเรียกฝน
จะทำให้ฝนตกลงมาได้เช่นกันและสัตว์ประเภทเดียวที่มีสีเมฆคือแมวสีสวาท
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา
ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์
ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งที่เมืองอุบลมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง
มีประชาชนไปดูเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นในขบวนแห่บั้งไปได้เกิดมีการทะเลาะวิวาทและถึงแก่ความตาย
เสด็จในกรมได้พิจารณาถึงความสูญเสียอันยิ่งใหญ่
จึงสั่งการให้เลิกแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน
แต่การแห่เทียนพรรษาในสมัยดั้งเดิมก็ไม่ได้จัดงานยิ่งใหญ่เช่นปัจจุบัน
เป็นเพียงการที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน
แล้วนำมาติดกับไม้ไผ่และนำต้นเทียนไปผูกติดกับปี๊บน้ำมันก๊าดอีกที
ฐานของต้นเทียนทำจากไม้ที่ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงเป็นชั้นๆ
ติดกระดาษแล้วนำไปถวายวัด ส่วนพาหนะที่นิยมใช้ในสมัยนั้นก็จะเป็นเกวียน
หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง แต่ในขบวนแห่เทียนของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง
กรับ และการฟ้อนรำที่สนุกสนาน ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 คือเป็นการหล่อเทียนออกจากแม่พิมพ์ที่มีลวดลายง่ายๆ
หลายแบบ เช่น ตาอ้อย บัวคว่ำ กระจังก้ามปู
ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม
“ประเพณีบุญเบิกฟ้า ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ
เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน
โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา ฟ้ากำลังจะร้อง
เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ
ไปตามความเชื่อดั้งเดิม” ชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน
ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป
เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้
ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน ด้วยการคืนธาตุ คืนอาหารเป็นการตอบแทน
อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเอง เดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน
นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน
ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง
ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
“นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา ผาแดงนางไอ่
พระยาคันคาก ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน
เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ
ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่ ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า
ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น และเสียงลุ้นของผู้คน
สุดเร้าได้ทุกครั้งไป” เมื่อถึงเดือน ๖
ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ หนึ่งในฮีตสิบสอง
จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่ และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด
ชุมชนไหน มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ
ฝนก็จะไม่ตก พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ
ได้ เมื่อถึงวันงาน ก่อนการประกวดประชันบั้งไฟประเภทต่างๆ
จะมีขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม ตามมาด้วยเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะในการเซิ้งบั้งไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น